วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จังหวะการเรียง

วันนี้จะมาอธิบายคร่าวๆ ของจังหวะในการเรียง และผลกระทบต่อการย้ายตำแหน่งของการเรียง ภาพแรกนี้เป็นสี่เหลี่ยมสีดำ เรียงกันเป็นระเบียบมีช่องจังหวะที่เท่ากันเสมอตลอดทุกช่อง ก็จะทำให้เกิดการเรียง แต่ด้านล่างของแถวที่เรียงนั้น เมื่อถูกกระจาย การเรียงหายไปทำให้ไม่เกิดจังหวะขึ้น



ภาพที่สองเป็นลักษณะเดิมแต่มีการเพิ่ม ตัวเลขไป ทำให้เมื่อกระจายไปแล้ว การเรียงก็ยังคงอยู่เนื่องจาก มีตัวเลขคอยนำทางของสายตาว่า อันไหนมาก่อนมาหลัง



ภาพที่สามที่ลักษณะเดิมอีกเช่นกันแต่เปลี่ยนจากตัวเลขเป็น สี สายตาเราก็ยังคงแยกแยะออกอยู่เช่นกันว่า ไหนเข้มไหนอ่อน ทำให้เกิดการเรียงขึ้นได้



ภาพที่สี่เป็นการยกตัวอย่างของ ภาพที่ใช้ FONT ในการสื่อสาร แต่มีการเล่นกับตัวหนังสือที่ว่า ความหนาบางนั่นเอง ทำให้เกิดการแยกแยะได้ว่าเป็นคำๆ ไป แม้ไม่มีช่องไฟเกิดขึ้นแต่ก็สามารถอ่านได้เป็นคำ ไป



แล้วไว้จะมาลงเพิ่มครับ ขอบคุณมากครับ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จังหวะ

ในทางทัศนศิลป์ จังหวะเกิดจาก การเว้นระยะ ความห่าง หรือการซ้ำที่เป็นระเบียบ เป็นจังหวะจะโคน จากระเบียบธรรมดา ที่มีช่วงถี่ ห่าง เท่า ๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูง และซับซ้อนขึ้น ของทัศนธาตุ หรือส่วนประกอบมูลฐานของทัศนศิลป์ (Elements of Visual Art) เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Movement) ทางสายตา คือทางเดินของ ภาพที่มีพลังชักนำหรือขัดแย้งให้สายตาติดตาม

จังหวะ ที่ปรากฎในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
จังหวะของงานทัศนศิลป์ เป็นการซ้ำหรือการไหลต่อเนื่องกัน ของ ส่วนประกอบมูลฐานของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรงพื้นผิวในที่ว่าง มีความถี่ ความห่าง เกิดเคลื่อนไหวในทางสายตา จำแนกออกได้ 3 ประเภทตามลักษณะการเกิดของจังหวะ คือ.

1. จังหวะเกิดจากซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
หมายถึงการจัดช่วงจังหวะให้มีลักษณะ ซ้ำกันของ ส่วนประกอบขั้นมูลฐาน เช่น เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง ฯลฯ ซึ่งมีหน่วยตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป โดยมีบริเวณว่าง คั่นอยู่ ระหว่างรูปร่าง หรือรูปทรงเหล่านั้น










(ซ้าย) วัตถุที่เป็นหน่วยเดียว ยังไม่มีการเกิดของจังหวะ จนกว่าจะมีการซ้ำเกิดขึ้น (ขวา)




จังหวะ ที่เกิดจาก การซ้ำในบางลักษณะ ทำให้เกิดภาพลวงตาได้


2. จังหวะเกิดจากการต่อเนื่อง (Continuous Rhythm)
หมายถึงการเคลื่อนไหวที่มีจังหวะ ซึ่งอาจจะ เป็นเส้น สี รูปร่าง รูปทรง แสงเงา ฯลฯ ที่ต่อเนื่อง โดยไม่มีบริเวณว่างมาคั่น การกำหนดจังหวะ อยู่ที่ลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุเอง เช่น เดียวกับคลื่นในทะเล ที่เลื่อนไหลไปอย่าง สม่ำเสมอ ให้จังหวะต่อเนื่องกันของเส้น สี น้ำหนัก หรือ จังหวะของดนตรีที่มีการต่อเนื่องกันด้วยเสียงสูง เสียงต่ำ บรรเลง ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นจังหวะไม่ขาดระยะ




จังหวะที่ต่อเนื่อง เปรียบเหมือนกับการกระเพื่อมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งบนพื้นผิวที่ตึง เรียบ


3. จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องก้าวหน้า (Progressive Rhythm)
หมายถึงการจัดจังหวะให้เพิ่มขึ้นเป็น ลำดับอาจเ กิดขึ้น จากเส้น ขนาด น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง เส้น สี พื้นผิว ฯลฯ เป็น การสร้างสรรค์ระยะของจังหวะ ให้เปลี่ยนแปลง ไปทีละน้อย
(ศึกษาเรื่องการแปรเปลี่ยน (Gradation)ในบทที่ 3.6 )เพิ่มเติม)

จังหวะก้าวหน้า เกิดจากการกระจาย หรือการลดหลั่น (Gladiation) ของเส้น (ล่างอันที่ 1)





วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

รหัสมอร์สที่ 2

จากครั้งที่แล้วที่ว่าด้วยเรื่องของ รหัสมอร์สแล้วข้ามไปที่เรื่องการตัดทอนของตัว FONT แล้วคณะอาจารย์เห็นว่าไม่เหมาะสมเหมือนเป็นการข้ามกระบวนการเกิดไป จึงกลับมาสำรวจคำว่า รหัสมอร์ส อย่างจริงจัง แล้วก็ได้ออกมาคำนึงว่า
รหัสมอร์ส คือจังหวะ
ทำไมถึงคือจังหวะเพราะ ถ้าไม่มีจังหวะ ก็จะไม่เกิด รหัสมอร์ส หรือมีการสื่อสารที่ผิดไป จังหวะจึงเป็นตัวการหลักสำคัญของ รหัสมอร์ส พอได้แกนหลักว่า จังหวะ มาแล้วก็ยังตันอยู่สักพักนึง ก็นั่งดูเว็บที่แนะนำร้านอาหารและวิธีการทำอาหาร พี่แช้มป์ ก็ทักว่าเอ้ยกู้มึงชอบอาหารทำไมไม่ลองดึงอาหารมาทำดูหละ ผมก็งง “ มันจะได้เหรอพี่ “ พี่แช้มป์ก็บอกว่า “ มันก็ต้องลองดู “ ก็เลยนั่งคุยกันพักใหญ่ ก็ได้แกนหลักของอาหารมาว่า “ เพื่อความอยู่รอด “ พอได้คำนี้มาก็นั่งคิดกันอีกว่า เพื่อความอยู่รอดมีอะไรบ้าง ก็นั่งคิดไปมาว่ามันจะเกี่ยวอะไรกับ จังหวะไหม ก็คิดไปคิดว่าก็คิดว่า เออเนอะ ชีวิตเราเกือบทั้งหมดแทบต้องมีจังหวะทุกอย่าง ต้องมีการกะเกน พอมีการกะเกน ก็ทำให้เกิดจังหวะขึ้น ทั้งการขับรถต้องมีจังหวะในการขับการเลี้ยว การเดินต้องมีจังหวะ การทานข้าวต้องมีการตัก การเคี้ยว การนั่ง การยืน การพูด สิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันแทบจะเป็นจังหวะทั้งหมด หรือผมคงขอเรียกว่า จังหวะชีวิตหละมั้งครับ



ก็มาลงตรงที่ การหายใจ การเต้นของหัวใจและชีพจร ถ้าหยุดหายใจ ชีวิตก็คงดับลงถ้าหัวใจไม่เต้นก็คงดับลงอีกเช่นกัน ชีพจรไม่เต้นก็คงดับลงเหมือนกัน ทุกอย่าง 3 อย่างมีจังหวะของมัน จึงมาคล้องกับ รหัสมอร์สที่ มีจังหวะ ไม่งั้นคงไม่สามารถ สื่อสารได้ ที่สนใจใน ลายเส้น ของการเต้นของหัวใจหรือชีพจรนั่นเอง จังหวะการเต้น ที่ขึ้นลง ที่แสดงถึงอารมณ์ได้ ทั้งตกใจ ดีใจ ตื่นเต้น วิตก ฯลฯ จึงสนใจในตรงนี้ว่าเออมันน่าจะนำมาทำอะไรได้มากกว่านี้อีกนะ

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ประวัติของคนสร้างรหัสมอร์สและเป็นผู้คิดประดิษฐิเครื่องรับส่งโทรเลข

แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse)



โลกรู้จักกับ “โทรเลข” (Telegraph) และเทคนิคการทำงานของมันเป็นครั้งแรกในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) เมื่อ แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณไฟฟ้าทางไกลและคิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือ ได้ทดลองใช้สัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวส่งข่าวสารผ่านรหัสที่เขาคิดค้น จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปยังเมืองบัลติมอร์ได้เป็นผลสำเร็จ สำหรับมอร์ส วันนั้นถือเป็นวันที่เขาประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิต ทั้งความพยายามที่จะเยียวยาจิตใจก็ลุล่วง

สิบเอ็ดปีก่อนหน้านี้ มอร์สทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาล่าช้าไปถึง ๓ วัน จึงทำให้เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องคิดค้นวิธีการสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งกว่าจดหมายขึ้นมาให้ได้ หลังจากนั้นมอร์สก็ทุ่มเทเวลาไปกับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า พร้อมเก็บเงินทีละเล็กทีละน้อยซื้ออุปกรณ์สร้างเครื่องส่งโทรเลข และทำการทดลองจนประสบความสำเร็จในที่สุด

เทคนิคที่มอร์สคิดค้นขึ้นมาจากการกดสวิตช์ไฟอย่างง่าย สวิตช์ดังกล่าวประกอบด้วยสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับกด ซึ่งติดกับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็กๆ เมื่อกดปุ่มแล้ว กระแสไฟฟ้าก็จะเดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่ม กระแสไฟฟ้าก็จะตัด สวิตช์นี้จะทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าเป็นช่วงสั้นและช่วงยาว ก่อให้เกิดรหัสสัญญาณโทรเลข หรือที่เรียกกันว่า “รหัสมอร์ส” ซึ่งการทำงานของมันก็คือ กดปุ่มแล้วปล่อยทันที (กดสั้น) ได้ผลเป็นจุด (O) ถ้ากดปุ่มค้าง (กดยาว) ได้ผลเป็นขีด (-) โดยมอร์สได้คิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือไว้แล้วว่า การเรียงจุดและขีดแบบใด หมายถึงตัวอักษรหรือตัวเลขใด

หลักการส่งและรับโทรเลข
ในการส่งโทรเลขนี้นะครับ ก็จะมีหลักการดังนี้ครับ ก็คือว่า ทางเครื่องส่งนี้จะต้องทำการแปลงรหัสนะครับ คือจากตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจแล้วทำการแปลงรหัสไปเป็นรหัสสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นก็จะส่งไปตามสายสัญญาณพอไปถึงเครื่องรับแล้วนะครับ เครื่องรับก็จะทำการรับสัญญาณทางไฟฟ้านั้นมาทำการถอดรหัสทางไฟฟ้ามาเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจยังไงล่ะครับ


ข้อดีของโทรเลข คือ
สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก

ข้อเสียของโทรเลข คือ
ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป

เพิ่มเติมครับ
หลังจากที่ได้อ่านๆ ข้อมูลมาผมคิดว่า ในสมัยก่อนเนี่ยโทรเลขเหมือนถูกทำมาเพื่อเป็นการย่นเวลาในการสื่อสารให้มีความเร็วเพียงไม่กี่วินาที เพราะจดหมายใช้เวลาอย่างต่ำก็หนึ่งวันสองวันเป็นอย่างต่ำ

หัวข้อและรูปร่างของรหัสมอร์ส

สวัสดีครับหัวข้อที่ผมสนใจ ที่จะนำเสนอในอาทิตนี้ คือ รหัสมอร์ส ครับ แต่ก่อนอื่นจะอธิบายว่ามาถึงรหัสมอร์สได้ยังไง คือเริ่มต้นผมได้ทำงานหาข้อมูลของ JOHE MAEDA แล้วผมก็สนใจในเรื่อง กฎแห่งความเรียบง่าย 10 ข้อ แล้วก็วิเคราะห์เอาหัวข้อที่มันน่าจะเป็นพื้นฐานของความเรียบง่ายแล้วก็ได้หัวข้อคือ การลด หรือ ( Reduce ) นั่นเอง เนื่องจากที่เลือกข้อนี้เพราะ ผมคิดว่าความเรียบง่ายนั้นทุกอย่างเริ่มมาจากการลด ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ก็จะเกิดความเรียบและง่าย ผมจึงคิดว่า การลดคือพื้นฐานหรือสิ่งที่จำเป็นที่สุดของความเรียบง่าย MAEDA กล่าวว่า “ ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองหรือการเอาระบบการอื่นๆ ออกเหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ “ พอได้หัวข้อการลด ก็เริ่มคิดแยกอีกทีว่าการลด คิดถึงอะไรบ้าง พอเอิญผมคุย msm กับเพื่อนพอดีก็เลยลองถามว่า ถ้าพูดถึงความเรียบง่าย หรือ การลด เนี่ย คิดถึงอะไร เขาก็บอกว่า เลขาคณิต หรือ ( Geometric From ) แต่เนื่องด้วยผมอ่านเร็วไปหน่อยเลยอ่านผิด จากเลขาคณิต เป็น เลขคณิต ผมก็เอ้ มันน่าจะมีอะไรมากกว่านั้น เลขาคณิตก็น่าสนใจ เลขคณิตก็น่าสนใจ ในช่วงเวลาที่ผมคิดอยู่นั้น นิ้วชี้ของผมก็เคาะโต๊ะไปด้วย ตึก ตึก ตึก ตึก ตึก ตาผมก็มองนิ้วไปด้วย ผมก็นึกถึงการส่ง รหัสมอร์ส ในตอนแรกผมคิดว่า รหัสมอร์สคือการเคาะจังหวะ ตัวเลขและการเร่งจังหวะ แบบว่าเคาะสามครั้งเร็วๆ คือ ช่วยด้วย
( สมมุติ ) หรือว่า เคาะแล้วหยุด เคาะแล้วหยุด คือเตรียมตัว ( สมมุติ ) แบบคิดว่าเคาะตามเลขที่กำหนดแล้วกะจังหวะ คือรหัสมอร์ส แต่พอเข้าไปหาจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่คิด มันหลักแค่ว่า เคาะสั้น ตึกคือ ( . ) และ เคาะแล้วค้างไว้ ตึกกกก คือ ( _ ) เหมือนไฟฉายเหมือนกัน ไฟแว๊บเดียว คือ ( . ) แล้วไฟค้างไว้คือ ( _ ) เขาใช้สัญลักษณ์แค่
( . ) กับ ( _ ) มาเป็นตัวแปลอีกที ลองมาดูกันนะครับ

นี่เป็น รหัสมอร์สแบบ FONT ภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้เป็นสากล



แล้วนี่เป็น รหัสมอร์สแบบ ตัวเลข



จากข้างต้นที่เห็นคือเอาตัวอย่างมาลงให้ดู ในรูปทั้งสองรูป ด้านซ้ายคือภาษาที่เราเข้าใจกัน ตรงกลางคือ คำที่ใช้เรียกหรือการออกเสียง ด้านซ้ายสุดคือ สัญลักษณ์หรือตัวแทนของ ภาษาที่เราเข้าใจกัน

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

โครงการอักขรศิลป์ " ทรงพระเจริญ "

:: ขอเรียนเชิญออกแบบอักขรศิลป์ “ทรงพระเจริญ” ::
:: www.songpracharoen.org ::

เนื่องจากกลุ่มคณะวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณาจารย์ นักออกแบบ ศิลปิน บริษัท สยามพิวรรธน์ และองค์กรเอกชนต่างๆได้ร่วมกันจัดโครงการอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ ซึ่งเป็นโครงการออกแบบ และเผยแพร่อักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ รูปแบบใหม่ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และจะมีการรวบรวมผลงานอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ จากนักออกแบบและผู้ที่ส่งผลงานเข้าร่วม เพื่อจัดแสดงในระหว่างวันที่ 14 - 17 ธันวาคม 2550 บริเวณ โถงชั้น 1 สยามดิสคอพเวอรี่เซ็นเตอร์ และผ่านเว็บไซต์ www.songpracharoen.org

จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านซึ่งเป็นนักออกแบบ ให้เกียรติเข้าร่วมโครงการอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ โดยออกแบบอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ รูปแบบใหม่ขึ้น เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา

:: โดยมีกำหนดส่งผลงานออกแบบดังนี้ ::
ออกแบบอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ
ขนาด A2 (60 x 42 ซม.)
ส่งเป็น File ภาพ jpeg โดยให้มีความละเอียด 150 – 300 dpi


แบบที่ 1 โดย นาย กู้เกียรติ จำรัสบุญสม


แบบที่ 2 โดย นาย กู้เกียรติ จำรัสบุญสม

สำหรับผู้ที่สนใจ
ออกแบบอักขรศิลป์ “ทรงพระเจริญ”
ก็ขอร่วมกันทำ เพื่อ ถวายพระพรแก่องค์พระเจ้าอยู่หัวของเราชาวไทย รีบหน่อยนะครับ ส่งก่อน 30 พฤศจิกายน 2550 นี้นะครับ

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

มีมาฝากครับ

ครับก่อนอื่นก็ขอบคุณน้องๆ ครับที่บอกวิธีการแก้ปัญหา ที่ไม่สามารถโพสบล๊อกได้ แล้วก็มาเข้าเลือกครับ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา คือวันที่ 16/11/50นัดกับพวกพี่แชมป์ พี่หมู ปลั๊ก เป็ด ว่าจะไปฟังอะไรซักอย่างเนี่ยแหละครับ 5555 ( จำไม่ได้ขอโทษทีครับ ) ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยจุฬา ที่อาจารย์ติ๊กแนะนำไปเพราะ อาจารย์บอกว่า ใครที่เรียนออกแบบนิเทศศิลป์ น่าจะสนใจกัน ก็นัดกันว่าเจอกันที่สยามประมาณเที่ยงๆ แต่พอถึงเวลาจริงๆ มีผมมาคนเดียว
( เซงมาก ) โดนชิ่งครับ ก็เลยไม่ได้ไปดู ตอนเย็นผมก็ยังอยู่แถวสยามอยู่เพราะเดินดูหนังสืออยู่ที่พาราก้อน พี่หมูก็โทรมาชวนไปดูงานของอาจารย์ KENTARO HIROKI ซึ่งเป็นอาจารย์สอน COMDESIGN 4 ครั้งที่แล้ว อื่มก็อยากดูเพราะไม่เคยเห็นงานของเขาเลย อยากรู้ว่างานเขาเป็นสไตล์ไหน ก็เลยไปกัน งานเขาแสดงอยู่ที่ สุขุมวิท 71 ซอย 20 ชื่อ แกลอลี่ว่า nospace



ครับไปถึงก็ยังไม่ได้เข้าไปทันทีครับ ดูเชิงก่อน ตอนแรกนึกว่าเป็น ตึกแล้วข้างในเป็น แกลอลี่แบบทั่วไป แต่ที่นี่เป็นแบบ บ้านคนครับ สบายๆ เป็นกันเอง แต่ก็ยังไม่กล้าเข้าไปเพราะพอมองเข้าไปเจอแต่ ใครก็ไม่รู้มากหน้าหลายตา แล้วก็มีคนต่างชาติเยอะด้วย ก็เลยบอกพี่หมูกลับกันเหอะ แต่พี่หมูบอกว่ามาแล้วเอาแล้ววลุย ผมก็เอาจริงดิ หน้าด้านไปป่าวแบบ ว่าเราเป็นแค่เด็กเองนะ เข้าไปจะแปลกๆอะดิ ( คือตอนแรกก็ไม่รู้หรอกครับว่าอาจารย์เขาโชว์งาน แต่รู้มาจาก อาจารย์ลี่ เขาบอกพี่หมูมาอีกที ) ทันใดนั้น เคนทาโร่เดินออกมาที่รถของเขาพอดี พี่หมูก็ตระโกนเรียก เฮ้ เคนทาโร่ ( เอ้ยย เรียกชื่อฮ้วนๆเลยเหรอ ) อาจารย์ เคนทาโร่ เดินดิ่งมาหาทันที พร้อมเบียร์ที่อยู่ในมือ แถวนั้นไม่ค่อยมีไฟ เขาเลยเดินเข้ามาใกล้ๆ แล้วพี่หมูก็บอกว่าจำได้ไหม เขาก็ อ้อออ เขาทำหน้าดีใจมากที่เรามา เขายิ้มแย้มให้เราเหมือนเป็นกันเอง ผมอุ่นใจมาก แล้วเขาก็พาทัวดูงานด้วยตัวเองเลย ทั้งๆที่ข้างในก็มีแขกมากหน้าหลายตา แต่หละคนรุ่นไหนก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ พวกผมเด็กสุดในนั้น เขาพาเดินชมงานแล้วพูดคุยอย่างเป็นกันเองมาก ผมขอบอกว่าผมประทับใจสุดๆ เลยพวกผมเป็นแค่ เด็กนักศึกษาที่เขาเคยสอนแค่ 4 เดือนเองนะ เขาให้การต้อนรับเราขนาดนี้เลยเหรอ ผมดีใจจริงๆ แล้วก็ซึ้งใจมาก ว่าเขาให้ความสำคัญกับทุกคนจริงๆ



ผมก็เดินดูอยู่สักพักหนึ่งแล้วก็งงๆ ว่าไหนงานเขาเนี่ย เพราะเข้าไปมีแต่ ไฟที่ส่องเข้าหากำแพง ( เห้ยทำไม อาจารย์เขา ติสส จังหวะ ) ผมก็คิดอีกทีเอ้ยคงไม่ใช่อะไรว่างป่าวมั้งหรือไม่ก็งานแกคงเป็น บ้านทาสีขาวๆ ป่าว ( คิดแบบโง่ๆ 55555 )



พี่หมูก็คุยกับ เคนทาโร่ ไปเลื่อย เขาบอกว่าเดินดีๆนะ จะเห็นบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ผมก็ไม่ได้เอะใจอะไร งานอะจะเข้าใจยากมั้ง คงต้องดูดีๆแหละ ประมาณนั้น ผมก็เดินแล้วเดินอีก แล้วเขาก็เฉลย เขาชี้ไปที่งานเขาพวกผมก็งงๆ พี่หมูก็เขาไปดู พี่หมูตกใจร้อง เอ้ยยย ผมก็งง ตกใจอะไรก็แค่กล่องโอวันติน ผมก็เข้าไปดูใกล้ๆ ผมก็เอ้ยยย นี่มัน DRAWING นี่หว่า เหมือนจังหวะ ถ้าไม่สักเกตุนี่นึกว่าของจริง



ด้านบนนี้เป็นมุมมองไกลๆ แล้วขยายเป็นโอวันติด ( ที่ตกใจกัน 555 ) ส่วนด้านล่างเป็นขยายเต็มๆ ไปเลยให้เห็นไปเลยสะใจ



เดินไปเดินมาหากันให้ทั่วตรงไหนมีงานของ เคนทาโร่อีก หาแล้วก็หาไปเรื่อยๆ แล้วก็ยังมีอีกจริงๆ ไม่รู้เขาไว้ตรงไหนบ้าง แต่ถ้าไม่สังเกตุจริงๆ ก็นึกว่าเศษขยะนะ ( ไม่ได้พูดถึงงานนะ หมายถึง ตอนที่เดินเข้ามาเนี่ยยังคิดในใจเลยว่าไม่เก็บกวาดหน่อยเหรอ อะไรงี้หนะ )



แล้วชิ้นนี้เป็นเปลืองลูกอมซึ่งมันถูกว่างไว้ข้างๆประตูทางออก ก็เหมือนแบบกวาดไปทิ้งมุม อะไรอย่างนี้ ดูจากรูปนะครับ รูปแรกคือมุมที่มองไกลๆ ตรงจุดนั้นคืองานที่เขาวางอยู่ ผมว่ามันน่าสนใจมากไม่รู้เขาตั้งใจป่าวที่ไปวางจุดนั้น แต่ผมว่าน่าจะตั้งใจนะครับ ( คิดเดาเอง 555 ) ส่วนในงานจะมี VDO ฉายอยู่ด้วยเป็นการ DRAWING ตั๋วรถเมล์ ครั้งตอนการทำงาน อะไรประมาณนี้



ส่วนงานชิ้นด้านล่างนี้เหมือนเป็นงานเอกของงานนี้นะผมว่า หรือว่าผมคิดไปเองเพราะได้ดูจาก VDO เลยคิดว่ามันน่าจะเป็นพระเอกในงานนี้ครับ



ครับรูปแรกคือมุมมองไกลๆ แล้วก็ต่อไปก็ ซูมเข้าไปใกล้ๆ ถ้าได้มีโอกาสดูของจริงจะเห็นว่ามันจะละเอียดอะไรขนาดนั้น เคนทาโร่กล่าวว่าที่เขาเลือก DRAWING ก็เพราะผมเป็นและสามารถทำได้ ทำไมเราต้องทำอะไรแพงๆ เวลาโชว์งานสักชิ้น เรามีแค่ไหนเราก็ทำเท่านั้น เงินไม่ได้เป็นตัวกำหนดคุณค่าของงาน แต่คุณค่ามันอยู่ที่คุณคิดแหละจะโชว์มันแบบไหน อะไรก็ได้ที่ง่ายๆ และเราทำได้นั่นแหละ ครับสำหรับความคิดส่วนตัวผมนะครับผมว่าถ้างาน DRAWING ไปใส่กรอบหรือไปโชว์แบบธรรมดาๆ มันก็ คือ DRAWING สวยๆ รูปนึง แต่เมื่อเราเอามาประยุกหรือคิดที่จะมาบวกกับสิ่งที่เราคิดไว้มันก็จะเกิดสิ่งที่เกิดคาด คือ เหมือนงาน อ.เคนทาโร่ เขาเอา DRAWING ที่เหมือนจริงๆ เอามาไว้ในที่ แกลอลี่ ใครคิดว่าการนำเสนอเขาจะแปลกขนาดนี้ ( หรือผมไปเองก็ไม่รู้ ) แต่ปกติ โชว์งานใน แกลอลี่ นี่คือการแขวนรูป การตั้งงานให้โดดเด่น แต่เขาให้เราหลงกลว่ามันคือสิ่งแปลกปลอม แต่ใครจะไปรู้ว่าสิ่งแปลกปลอมที่มองข้ามกันจะเป็นงานที่เขาจะเสนอ คืองานซ่อนในงานอีกที ผมว่าเขาลึกมาก เป็นงานที่คิดได้ดีมาก ผมเรียนกับ อ.เคนทาโร่ มาไม่เคยเห็นงานของเขาเลย แต่พอได้มีโอกาศมาดู ผมคิดเลยว่าผมได้เรียนกลับคนที่มีความคิดลึกขนาดนั้นเชียวเหรอ ผมภูมิใจมาก ( จริงๆครับ )



ครับสุดท้ายนี้ขอถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกครับ ขอขอบคุณ อ.เคนทาโร่ ฮิรูกิ
KENTARO HIROKI

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เกล็ดเล็กเกล็ดน้อย

ผมอยากจะแนะนำงานชิ้นนึงของ Kyle Cooper ผมไปหาซื้อเพื่อจะนำมาศึกษาเพิ่มเติม แต่หามาไม่ได้ จึงได้นำเนื้อเรื่องย่อๆ มาให้ลองอ่านกัน


New Port South
คือบทละครโทรทัศน์ ที่ออกฉายในปี 2001 ภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นฉากที่เกิดขึ้นที่ท่าเรือใหม่ ใกล้ชิคาโก้ ดารานำของเรื่องก็คือ วิลล์ เอสเตส, ท๊อดด์ ฟิลล์ และ เบลค เชวส์ (Will Estes, Todd Field, and Blake Shields) บทละครเรื่องนี้ได้ถูกเขียนขึ้นโดย เจมส์ ฮักส์ และควบคุมการผลิตโดย คายลี่ คูเปอร์ และให้เสียงเซาด์แทร็กโดย เทเลฟอง เทล เอวิฟเค้าโครงเรื่อง (เนื้อเรื่องนี้ไม่ได้ถูกเขียนขึ้นตามแบบฉบับของบทความในสารานุกรม)
วัยรุ่น 4 คนอาศัยอยู่ที่ นิว พอรท์ เซาท์ ในเขตนอกเมืองของโรงเรียนมัธยมชิคาโก้ พยายามที่จะเผยแพร่ข้อมูลเพื่อโจมตีฝ่ายบริหารของโรงเรียน เกี่ยวกับคนโรคจิต ที่ชื่อว่า สแตนตัน สแตนตัน อาศัยอยู่ที่ นิว พอรท์ เซาท์ มาเป็นเวลา 2 ปี และมีเหตุการณืที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นก็คือ สแตนตัน ได้พังหน้า
ต่างทั้งหมด 55 บาน ในโรงเรียน ก่อนที่เขาจะตัดสินใจฆ่าตัวตาย เรื่องที่เกิดขึ้นก็คือ ปัญหาของนักเรียนมัธยมที่ไม่ชอบความคิดและ อำนาจในการปกครองของโรงเรียน โดยที่พวกเขาคิดว่าเหมือนอยู่ในคุก เด็กคนอื่นๆ ก็พยายามเข้าร่วมกับวัยุร่นกลุ่มนี้ และมีการกระจายข่าวปัญหาที่สำคัญของอาจารย์ในโรงเรียน ผลที่ตามมาก็คือ มีการปฎิวัติเกิดขึ้นโดย แมดด๊อค(นักเรียนรุ่นพี่ของโรงเรียน) แต่แล้ววัยรุ่น 4 คน ก็ได้หายตัวไป

กฎแห่งความเรียบง่าย10ข้อ

1.การลด reduce
ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองไว้หรือการเอาระบบการอื่นๆออก ยกตัวอย่างคือ แผ่นดีวีดีทุกวันนี้มีระบบการณ์ให้เลือกมากเกินความจำเป็นถ้าสิ่งที่คุณต้องการคือแค่ดูหนังเรื่องนั้น ทางแก้ก็คือการเหลือแค่ปุ่ม “เล่น” ไว้เอาปุ่มอย่างอื่นออกคุณทำให้มันง่ายขึ้นอย่างไร สิ่งนั้นต้องซับซ้อนแค่ไหน

2.จัดระบบ organize
การจัดระบบเป็นการทำให้สิ่งต่างที่มีอยู่มากมายน้อยลง ปกตินั้นบ้านเป็นสมรภูมิแรกเมื่อเผชิญกับปัญหาการจัดการความซับซ้อนยุ่งยาก สิ่งเล็กๆมักจะเพิ่มเป็นทวีคูณ มีกลยุทธ์3ข้อในการจัดการปัญหาในชีวิตประจำวันนี้
1.ซื้อบ้านใหญ่ขึ้น
2.นำสิ่งของที่คุณไม่ต้องการใส่ไว้ในห้องเก็บของ
3.จัดระบบสิ่งของต่างๆที่ตั้งอยู่
การปกปิดความใหญ่โตของกองระเกะระกะมี2ทางคือซ่อนมันไว้หรือวางกระจายไปเลยทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ทำตามกฎข้อที่1การลดด้วยหรือเปล่า อย่างไรก็ตามในแผนการจัดระบบในระยะยาวที่ได้ผลเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก คำถามที่ท้าทายที่ตามมาคือ สิ่งไหนควรอยู่ด้วยกัน เช่นในตู้เสื้อผ้าควรจะมีสิ่งไหนบ้าง ในตู้เสื้อผ้าที่มีของเป็นพันๆอย่างอาจจะจัดกลุ่มได้เพียง6อย่างเท่านั้น แน่นอนแผนจัดกลุ่มนี้ใช้ได้ก็ต่อเมื่อจำนวนของกลุ่มน้อยกว่าจำนวนของสิ่งของ

3.เวลา Time
คนทั่วไปใช้เวลาอย่างน้อย1ชั่วโมงต่อวันในการต่อแถวรอ ลองนึกถึงเวลา1ชั่วโมงนี้มาเป็นวินาที นาที สัปดาห์ที่เราต้องใช้เวลาต่อแถวเพื่อสิ่งที่ไม่อาจจำเป็นต้องต่อแถวเลยสิ
บางสิ่งอาจเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เรารอน้ำออกมาจากก๊อก รอน้ำต้มให้เดือดและรู้สึกทนไม่ได้ รอฤดูเปลี่ยน รอเว็บเพจโหลดข้อมูล ติดในการจราจรแบบคันต่อคัน หรือรอผลตรวจสอบร่างกายที่สำคัญ ไม่มีใครชอบการรอดังนั้นผู้บริโภคและเหล่าผู้ประกอบการพยายามที่จะหาทางใหม่ๆเพื่อลดการรอเวลา เมื่อผู้ประกอบการสินค้าหรือบริการไหนตอบสนองเร็ว เราถือว่าสิ่งนั้นเป็นแนวทางในการสร้างความเรียบง่าย ยกตัวอย่างเช่น FedEx หรือการสั่ง McDonald’s การลดเวลาถือว่าเป็นสิ่งเรียบง่ายและเราชอบแบบนั้นแต่ว่ามันก็เกิดขึ้นยาก

4.การเรียนรู้ Learn
ความรู้ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น การหมุนไขควงอาจเป็นสิ่งที่ง่ายมาก แต่ถ้าคุณเป็นเด็กคุณไม่ได้เรียนรู้มาก่อนก็ทำให้กลายเป็นเรื่องยากมาก ลูกของผมก็เรียนรู้วิธีการจากการสอนโดยยึดจากการหมุนของนาฬิกา ทั้ง2อย่างต้องใช้ความรู้เช่นกันนั่นก็คือ รู้จักซ้ายขวา รู้จักทิศทางการหมุนของนาฬิกา
ดังนั้นไขควงมีรูปแบบที่ง่ายมากแค่หมุนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ความรู้ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แต่ปัญหาก็คือคุณรู้สึกว่า คุณกำลังเสียเวลาเรียนรู้สิ่งๆนั้นอยู่ นั่นคุณกำลังละเลยกฎข้อที่3 อยู่นะ

5.ความแตกต่าง Differences
ความเรียบง่ายและความซับซ้อนเป็นของคู่กัน ไม่มีใครต้องการกินแต่ของหวาน แม้แต่เด็กที่ได้รับอนุญาตให้กินของหวานได้ทั้ง3มื้อก็คงเบื่อไปเองและความหมายเดียวกัน ไม่มีใครต้องการแต่ความเรียบง่าย ถ้าไม่ดูจากความยุ่งยากเราก็คงไม่เห็นความเรียบง่าย เราจะรู้สึกก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ที่แตกต่าง
การรับรู้ความแตกต่างช่วยให้เราบอกคุณภาพที่เราต้องการซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนสิ่งนั้นออก ผมไม่ชอบสีชมพูเป็นการส่วนตัวแต่ถ้านำไปรวมกับสีดำเป็นพื้นรอบๆก็ทำให้ดูดีขึ้นมาได้ เราเรียนรู้ที่จะวิจักษ์สิ่งต่างๆถ้าเราลองเปรียบสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นๆ ความเรียบง่ายและความซับซ้อนเป็นของคู่กัน ยิ่งเราเห็นว่าที่การตลาดมีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ ความเรียบง่ายก็จะเด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น และเนื่องด้วยเทคโนโลยียังคงดำเนินไปในทางความซับซ้อน ทำให้มีกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจเรียบง่ายขึ้นด้านการจัดการสินค้า นั่นก็คือ ความรู้สึกเรียบง่ายในด้านการออกแบบยังต้องการความซับซ้อนเสมอๆแม้จะเป็นรูปแบบอื่นๆ

6.สิ่งแวดล้อม Context
สิ่งที่อยู่รอบนอกของความเรียบง่ายมีความสำคัญเท่ากันกับสิ่งที่อยู่ภายใน





7.อารมณ์ Emotion
อารมณ์หลากหลายย่อมดีกว่าไม่มีเลย






8.ความเชื่อใจ Trust
เราเชื่อใจในความเรียบง่าย







9.ความล้มเหลว Failure







10.ความเป็นหนึ่ง The one
ความเรียบง่ายคือการลดสิ่งที่เห็นได้ชัดออกและเพิ่มความหมายลงไป

ประวัติและมุมมองต่างๆ ของมาเอดะ

มาเอดะไม่เคยทำในสิ่งที่คนคาดไว้
" มุมมองของมาเอดะ กับของเกือบทุกอย่างนั้น จะ แตกต่างจากคนอื่น"
นิโคลัส เนโกรพอนเต กล่าว ประธานที่ปลดชราของสถาบันแลปวิจัยเทคโนโลยีแมตแซกชูเสตของอเมริกา ที่ซึ่งมาเอดะเป็นศาสตราจารของ media art และวิทยาศาสตร์
" เค้าเหมือนทรายในหอยนางรมที่น่ารำคานแต่กลายมาเป็นไข่มุข "
คำคอมเม้นของเค้าดูจะแปลกๆในเวลานั้น แต่จากนั้นมันก็ดูจะใช่

ด้วยความลุ่มหลงในการทำให้เทคโนโลยีให้มีชีวิต
" งานวิจัยของมาเอดะคือ การก่อตั้งการสร้างของ การออกแบบทดลองทั่วโลก"
กล่าวโดยพาวล่า แอนโทเนลลี่ ผู้รักษาการดีไซที่ พิพิธภัณท์ modern art ใน
new york " อะไรทำให้เค้าได้รับอิทธิพลมากมายนั้นไม่ใช่พรสวรรค์อย่างเดียวของเค้า แต่เป็นความสามารถในการยืดหยุ่นปรัชยาในการออกแบบที่ยึดความเรียบง่ายและชัดเจนของจุดประสงค์ให้กับเครื่องมือที่สำคัญที่สุดของ กระบวนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์

พ่อแม่ชาวญี่ปุ่นของเค้าเป็นเจ้าของร้านเต้าหู้ และลูกบ้านนี้ก็ต้องทำงานที่ร้านหลังเลิกเรียน "ผมไม่มีเพื่อนเพราะต้องทำงาน ผมเลยต้องซื้อเพื่อน"มาเอดะนึกขึ้น "ตอนนั้นมันไม่มีโปรแกรมและหนังสือดีๆเกี่ยวกับ Programming คุณต้องโปรแกรมตัวเอง ผมเรียนด้วยตัวเอง แต่โดยวิธีที่แย่ที่สุด"

โปรแกรมแรกที่เค้าเขียนคือ บัญชีร้านเต้าหู้ หลังจากม.ปลาย เขาเรียน com program ที่ MIT

ในปี1999 และปีถัดมา maeda@maeda เขาได้เขียนโปรแกรมที่สามารถผลิตของเหลวเกี่ยวกับด้านภาพ
ดิจิตอล " มันคือการปฎิวัติ " พาวล่ากล่าว
" มันช่วยนักออกแบบให้มีแนวคิดใหม่ๆ "

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ARTIST

ครับตอนนี้ผมทำงานวิชา COMMUNICATION DESIGN IV อยู่ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงาน COMMUNICATION DESIGN IV เป็นงานเกี่ยวกับการหาข้อมูลของ ARTIST JOHN MAEDA และ KYLE COOPER ครับ ลองอ่านดูกันก่อนแล้วกันครับและเดี๋ยวจะมีมาเพิ่มเติมอีกนะครับ เริ่มต้นด้วย

JOHN MAEDA

JOHN MAEDA เป็นหนึ่งใน 21 บุคคลสำคัญที่สุดใน ศตวรรษที่ 21 โดยได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร ESQUIRE โดย MAEDA เป็นผู้เชื่อมรอยต่อระหว่างวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และศิลปะ GRAPHIC เข้าด้วยกัน ความหลงใหลในอำนาจทางศิลปะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กับความเชื่อของเขาที่ว่าคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือแต่ยังมีความหมายอันทรงพลังเกี่ยวกับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ MAEDA ได้แสดงภาษาทาง GRAPHIC ที่อยู่ระหว่างนามธรรมกับงานฝีมือ กล่าวได้ว่างานของเขาเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ และ ยังเป็นผู้อำนวยการของกลุ่มสุนทรียภาพและการคำนวณแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสด (M.I.T.) เขาจบปริญญาตรีและปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก M.I.T. ก่อนเข้าศึกษาทางด้านศิลปะและการออกแบบที่ มหาวิทยาลัยซึคุบะ (Tsukuba) สถาบันลารออกแบบในญี่ปุ่น เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่ชื่อว่า Reactive books and Design by numbers ซึ่งเป็นหนังสือภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนักออกแบบ Maeda ได้รับรางวัล Daimler Csrysler สำหรับวัตกรรมทางด้านการออกแบบ
ในปี 2001 เขาได้รับรางวัล National Design Award for Communication Design แห่งชาติของ USA และได้รับรางวัล Mainichi Design Prize ในญี่ปุ่น



KYLE COOPER

ดิไซเนอร์ที่มีผลงานฉากเปิดหนังมามากกว่า 150 ชิ้นไคล์ คูเปอร์เป็นที่จับตามองของสาธารณชนครั้งแรกในปี 1996 กับไตเติลหนังเรื่อง เซเว่น และเครดิตเปิดหนังเรื่อง The Man with the Golden Arm สร้างความฮือฮาให้กับวงการและ Entertainment Weekly ยกย่องผลงานเค้าว่าเป็น Masterpiece of Dementia และได้รับคำชื่นชมจากผลงานมากมาย ผลงานของเขาเช่น Spider-Man," "Mission Impossible," "The Island of Dr. Moreau," "Arlington Road," "Mimic," "Dead Presidents," "Braveheart," and "Donnie Brasco." คูเปอร์มีอิทธิพลต่อโฆษณาทีวีหลายชิ้นเช่นกันและเค้าได้สร้างสรรค์รูปฝันร้ายมาทำเป็นภาพโมชั่นที่เรียกว่า Titus Andronicus ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเค้าได้เปิดตัวครั้งแรกในฐานะผู้กำกับหนังร่วมกับ John Hughes Production เรื่อง New Port South เขาและเพื่อนร่วมงานร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานในด้าน ภาพยนตร์ เกมส์และ interactive media รวมทั้งแผ่ขยายในงานดีไซน์ด้านนวัตกรรมผลงานของนักตีพิมพ์และนักโฆษณา โปรเจคงานที่ผ่านมาเขาได้เคยทำไตเติลเกมส์ Metal Gear2 และแสตมป์ระลึกถึงงาน American Filmmaking: Behind the Scenes และงานกราฟฟิค ภาพสกรีนในงานประกาศรางวัลอคาเดมี่ อวอร์ดประจำปีครั้งที่74และครั้งที่76 ซึ่งเข้าได้มีส่วนร่วมในหลายๆส่วนเช่นกัน คูเปอร์จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Swampscott เมสซาชูเซตประเทศ สหรัสอเมริกาและได้รับ M.F.Aปริญญาบัตรด้านกราฟฟิคดีไซน์จาก Yale และปริญญาบัตร B.F.A สาขาออกแบบภายในจากมหาวิทยาลัย Amherst เขาได้กล่าวว่าเขาได้เรียนกับนักดีไซเนอร์ในตำนานอย่าง Paul Rand ที่ Yale ก็ถือว่าเป็นแรงบันดาลใจที่มีค่ามากที่สุด งานของเขาได้รับรางวัลมากมายมหาศาลจากองค์กรทั่วโลกเช่น รางวัลเหรียญทองคำจากthe New York Arts Directors Club Awards และได้รับรางวัล ดีไซเนอร์แห่งปี 1996 เสนอชื่อโดย CSD (Chartered Society of Designers) เขายังเคยได้รับการเสนอชื่อรางวัลเอมมี่ อวอร์ดถึง 2 ครั้ง เขาเป็นสมาชิกของ Alliance Graphique Internationale และได้รับฉายาว่าเป็น “นักดีไซเนอร์กิติมศักดิ์ในวงการอุตสาหกรรม”

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สวัสดีครับ

ก่อนอื่นก็ สวัสดีครับ อาจารย์ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่เข้ามาอ่านบล๊อกขอผม ผมชื่อ นาย กู้เกียรติ จำรัสบุญสม เป็นนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ ผมได้สร้างบล๊อกนี้ขึ้นมาเพื่อ ไว้ลงข้อมูลงานต่างๆ และ ข้อมูลทั่วไป ที่สามารถอ่านได้ทุกเพศทุกวัย ข้อมูลที่หามานั้น ได้นำมาจากทั้งด้านการศึกษาที่เรียนอยู่ การค้นคว้าจากห้องสมุด การค้นคว้าจากอินเตอร์เน๊ต แล้วข่าวสารรอบข้างที่ผมรู้มา เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมไม่มากก็น้อย รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำงานของคนที่สนใจในหัวข้อต่างๆ ที่ผมได้เสนอไป หากผิดพล้าดประการใด ต้องขอประทานโทษไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ