วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551

โรงงานเหล็ก

จากครั้งที่แล้วได้หลงทางไปผิดเรื่อง แต่อาจารย์ก็ได้หยิบยกหัวข้อมาให้ใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยคิดว่าจะหยิบมาเสนอ อาจเป็นเพราะมันใกล้ตัวเกินไปเนื่องจาก เป็นที่บ้านเอง เลยลืมไปสนิท มาเริ่มเลยดีกว่าครับ ผมจะเล่ากระบวนการ การแปลรูปจากเหล็กเก่าเป็นแบบใหม่ เท่าที่ศึกษามาแหละรู้เห็นมาจริง



นี่คือกระบวนการรีไซย์เคิล 2 วิธี ( อาจจะมีมากกว่านี้ แต่นำหยิบมาให้ดู 2 วิธ๊ )



ภาพนี้คือไปรับซื้อมาก่อนจะเข้ากระบวนการตัดแยก ชิ้นส่วนที่ใช้แล้วไม่ใช้



แยกเป็นกองๆ เพื่อง่ายต่อการจัดการขั้นต่อไป



ส่วนที่ตัดออกแล้วไม่ได้ใช้ไปกองไว้ในที่ๆ เตรียมส่งไปขายเศษเหล็กเพื่อไปทำการหลอมใหม่



ภาพม้วนเหล็กที่หลังจากผ่านการนำมารีไซย์เคิลใหม่มีหลายรูปแบบทั้งเส้นตรงธรรมดาและเป็นม้วน

จากที่กล่าวมาคือกระบวนการรีไซย์เคิลใหม่ของโรงงานเหล็กแห่งหนึ่งในสภาวะที่เหล็กแพงเขาจึงได้นำเหล็กเก่ามาทำใหม่เพื่อลดต้นทุนในการผลิตแต่ได้คุณภาพเหล็กใหม่ แต่เสียเวลาหน่อยในกระบวนการรีไซย์เคิล สามารถช่วยประหยัดได้ถึง 20 - 30 % นี่คือข้อมูลคร่าวๆ ในการรีไซย์เคิลเหล็กจึงยกมาให้อ่านกัน ขอบคุณมากครับ

สติ๊กเกอร์บอกระดับความอันตราย

จากครั้งที่แล้วที่ได้นำเสนอเรื่องขยะอันตรายในขณะที่ผมหลงทางเข้าไปผิดประเด็น แต่ก็ไหนๆก็เข้าเรื่องไปแล้วเลยนำเสนอนิดหน่อยที่ว่าด้วย ผมทำสติ๊กเกอร์ขึ้นมาไว้แปะทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะทุกสิ่งอย่างเป็นขยะหลังจากหมดความต้องการ ขยะแต่ชิ้นมีความอันตรายไม่เท่ากัน แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์ที่นำมาใช้ใหม่โดยการ นำมาทำถุงใส่ พวกกล้วยทอดเป็นต้น หมึกที่พิมพ์อยู่บนกระดาษหนังสือพิมพ์นั้นมีสารจำพวกตะกั่วที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหากสะสมเข้าไปนานๆ หรือแม้แต่ กระป๋องกาแฟที่ตกอยู่ในสวนผัก แล้วฝนตกน้ำไหลผ่านกระป๋องจนเกิดเป็นสนิม น้ำที่ไหลผ่านนั้นได้ไหลไปสู้ วัชพืชที่เราปลูกไว้ซึมซาบเข้าไปในเนื้อผักเพียงเท่านี้ก็เกิดอันตรายได้โดยที่ไม่คาดคิด สติ๊กเกอร์ที่ลองทำขึ้นมานั้น จะมีสีที่บ่งบอกถึงความอันตราย ได้แก่ สีเขียว ( ไม่อันตราย ) ส้ม ( ความอันตรายน้อย ) แดง ( ความอันตรายปานกลาง ) เทา ( ระดับความอันตรายสูง ) ความอันตรายนั้นวตรจาก สารที่อยู่ในชิ้นขยะเช่น หลอดไฟอยู่ในเกรนสีเทา เนื่องจากมีสารปลอด สารตะกั่ว และอื่นมากกว่า 5 6 ชนิดด้วยกันเป็นต้น



นี่เป็นรูปทดลองแปะสติ๊กเกอร์บนกระป๋องความอันตรายอยู่ที่ระดับสีแดง



ส่วนภาพนี้เป็นรูปกล่องขนมความอันตรายระดับสีส้ม น้อย เป็นต้น

นี่คือเรื่องราวคร่าวๆ ที่หยิบยกมาให้อ่านกันอีกรอบถึงจะหลงทางไปบ้างแต่ก็ได้ทดลองเล็กๆ น้อยๆ ขอบคุณมากครับ

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

กินเยอะก็เกิดปัญหา

ในอาทิตย์แรกที่ผ่านมาได้เสนอเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ไป ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ อย่างที่อาจารย์ได้บอกว่าเราไม่สามารถไปเปลี่ยนพฤติกรรมได้ทุกคนแล้วที่ผมหาข้อมูลไปนั้นมันเป็นพื้นฐานมากๆเลย ตอนเดินกลับไปนั้นก็ได้ยินอาจารย์เควินพูดว่า คุณไม่ลองลดการกินของคุณดูหละ ตอนแรกผมก็นึกว่าอาจารย์ล้อเล่น ผมก็มานั่งคิดดูที่ว่าให้เริ่มจากการลดพฤติกรรมของตัวผมเองก่อน ผมก็นั่งคิดไปเลื่อย อาทิตย์ที่ผ่านมาได้เข้าไปที่สวนจตุจักรมา ผมรู้สึกได้ว่าเดี๋ยวนี้สกปรกมากๆ ส่วนใหญ่เต็มไปด้วยเศษอาหารและเศษขยะจากของกิน ผมก็ลองมานึกดูว่า เคยได้ยินข่าวที่เขาวิเคราะห์ว่า ขยะในโลกส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานของมนุษย์ ก็คิดต่อไปว่าเออผมก็เป็นคนนึงที่กินเยอะแล้วก็หน้ามืดเวลาหิวๆ แล้วลงไปซื้อของ ชอบซื้อเกินความจำเป็นที่ตัวเองจะกิน แล้วคนในโลกนี้เป็นล้านๆคน ทุกคนต้องกินทุกวัน อย่างน้อยก็วันละมื้อ เศษอาหารและขยะจากสิ่งที่ห่ออาหารมาเช่น ทุกพลาสติก โฟม เป็นส่วนมาก กระดาษก็มีแต่สิ่งนี้สามารถย่อยสลายได้ เมื่อขยะเยอะก็เกิดผลกระทบที่จะทำให้เสียพลังงานเพิ่มขึ้นตามไปกันอีก เช่น การเผา การหลอมไปใช้ใหม่ สิ้นเปลืองน้ำมันที่เอารถไปขนขยะที่ต่างๆ ทั้งสิ้นต้องสูญเสียพลังงานเป็นจำนวนมาก

วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ENERGY

สวัสดีครับอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆในสัปดาห์แรกที่ผ่านมาก็ได้ชม VDO สาระคดี กันไปแล้ว ใน Section ที่ 2 ก็ได้หัวข้อว่า ENERGY หรือว่า พลังงาน นั่นเอง ผมก็ลองกลับมานั่งคิดภาพรวมดู ในชีวิตประจำวันแต่ละวันในการสังเกตุของผม ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าที่พลังงานบนโลกที่หมดลงไปอย่างรวดเร็วในแต่ละวันนั้น ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ ต่างคนต่างคิดว่าพลังงานที่ใช้อยู่นั้น ใช้จนตัวเองตายไปก็คงไม่มีวันหมด ทั้งๆที่บางคนก็รู้ว่ามันสามารถหมดจากโลกนี้ได้อย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น น้ำมัน เราดูดน้ำมันขึ้นมาใช้เลื่อยๆ ทีละน้อย ทีละน้อยเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ น้ำมันที่ดูดขึ้นมาอาจจะเล็กแค่เป็นไม่กี่หยด แต่ลองคิดว่าโลกเป็นส้มแล้วเราเอาเข็มมาดูดน้ำออกไปเลื่อยๆ แม้ทีละนิดก็ตามแต่นานวัน นานเดือน นานปีไป วันนึงส้มใบนั้นก็จะแห้งแล้วฟีบไปในที่สุด แล้วถ้าโลกน้ำมันหมดละอะไรจะเกิดขึ้นถึงแม้มันอาจจะเป็นล้านๆปีก็ตาม ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ใช้พลังงานเกิดความจำเป็น อย่างเช่นลวดลายของด้ามปากกาที่มีส่วนทำให้สูญเสียพลังงานไปไม่น้อยใน 1 ล้านด้าม แค่การคุยโทรศัพท์ก็เป็นการใช้พลังงานเหมือนกันอาจจะเป็นสิ่งเล็กสิ่งน้อยที่โดนมองข้ามไปในทุกๆ วัน บางสิ่งบางอย่างมันอยู่ใกล้ตัวมากจนเราลืมนึกไปว่า ทุกสิ่งทุกอย่างต้องใช้พลังงานทั้งหมด แต่เราลืมคิดที่จะใช้มันอย่างรู้คุณค่าของมันให้มากที่สุด อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า ล้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคพลังงานอย่างไม่รู้คุณค่า การบริโภคนิยม