วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จังหวะการเรียง

วันนี้จะมาอธิบายคร่าวๆ ของจังหวะในการเรียง และผลกระทบต่อการย้ายตำแหน่งของการเรียง ภาพแรกนี้เป็นสี่เหลี่ยมสีดำ เรียงกันเป็นระเบียบมีช่องจังหวะที่เท่ากันเสมอตลอดทุกช่อง ก็จะทำให้เกิดการเรียง แต่ด้านล่างของแถวที่เรียงนั้น เมื่อถูกกระจาย การเรียงหายไปทำให้ไม่เกิดจังหวะขึ้น



ภาพที่สองเป็นลักษณะเดิมแต่มีการเพิ่ม ตัวเลขไป ทำให้เมื่อกระจายไปแล้ว การเรียงก็ยังคงอยู่เนื่องจาก มีตัวเลขคอยนำทางของสายตาว่า อันไหนมาก่อนมาหลัง



ภาพที่สามที่ลักษณะเดิมอีกเช่นกันแต่เปลี่ยนจากตัวเลขเป็น สี สายตาเราก็ยังคงแยกแยะออกอยู่เช่นกันว่า ไหนเข้มไหนอ่อน ทำให้เกิดการเรียงขึ้นได้



ภาพที่สี่เป็นการยกตัวอย่างของ ภาพที่ใช้ FONT ในการสื่อสาร แต่มีการเล่นกับตัวหนังสือที่ว่า ความหนาบางนั่นเอง ทำให้เกิดการแยกแยะได้ว่าเป็นคำๆ ไป แม้ไม่มีช่องไฟเกิดขึ้นแต่ก็สามารถอ่านได้เป็นคำ ไป



แล้วไว้จะมาลงเพิ่มครับ ขอบคุณมากครับ

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จังหวะ

ในทางทัศนศิลป์ จังหวะเกิดจาก การเว้นระยะ ความห่าง หรือการซ้ำที่เป็นระเบียบ เป็นจังหวะจะโคน จากระเบียบธรรมดา ที่มีช่วงถี่ ห่าง เท่า ๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูง และซับซ้อนขึ้น ของทัศนธาตุ หรือส่วนประกอบมูลฐานของทัศนศิลป์ (Elements of Visual Art) เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Movement) ทางสายตา คือทางเดินของ ภาพที่มีพลังชักนำหรือขัดแย้งให้สายตาติดตาม

จังหวะ ที่ปรากฎในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
จังหวะของงานทัศนศิลป์ เป็นการซ้ำหรือการไหลต่อเนื่องกัน ของ ส่วนประกอบมูลฐานของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรงพื้นผิวในที่ว่าง มีความถี่ ความห่าง เกิดเคลื่อนไหวในทางสายตา จำแนกออกได้ 3 ประเภทตามลักษณะการเกิดของจังหวะ คือ.

1. จังหวะเกิดจากซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
หมายถึงการจัดช่วงจังหวะให้มีลักษณะ ซ้ำกันของ ส่วนประกอบขั้นมูลฐาน เช่น เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง ฯลฯ ซึ่งมีหน่วยตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป โดยมีบริเวณว่าง คั่นอยู่ ระหว่างรูปร่าง หรือรูปทรงเหล่านั้น










(ซ้าย) วัตถุที่เป็นหน่วยเดียว ยังไม่มีการเกิดของจังหวะ จนกว่าจะมีการซ้ำเกิดขึ้น (ขวา)




จังหวะ ที่เกิดจาก การซ้ำในบางลักษณะ ทำให้เกิดภาพลวงตาได้


2. จังหวะเกิดจากการต่อเนื่อง (Continuous Rhythm)
หมายถึงการเคลื่อนไหวที่มีจังหวะ ซึ่งอาจจะ เป็นเส้น สี รูปร่าง รูปทรง แสงเงา ฯลฯ ที่ต่อเนื่อง โดยไม่มีบริเวณว่างมาคั่น การกำหนดจังหวะ อยู่ที่ลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุเอง เช่น เดียวกับคลื่นในทะเล ที่เลื่อนไหลไปอย่าง สม่ำเสมอ ให้จังหวะต่อเนื่องกันของเส้น สี น้ำหนัก หรือ จังหวะของดนตรีที่มีการต่อเนื่องกันด้วยเสียงสูง เสียงต่ำ บรรเลง ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นจังหวะไม่ขาดระยะ




จังหวะที่ต่อเนื่อง เปรียบเหมือนกับการกระเพื่อมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งบนพื้นผิวที่ตึง เรียบ


3. จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องก้าวหน้า (Progressive Rhythm)
หมายถึงการจัดจังหวะให้เพิ่มขึ้นเป็น ลำดับอาจเ กิดขึ้น จากเส้น ขนาด น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง เส้น สี พื้นผิว ฯลฯ เป็น การสร้างสรรค์ระยะของจังหวะ ให้เปลี่ยนแปลง ไปทีละน้อย
(ศึกษาเรื่องการแปรเปลี่ยน (Gradation)ในบทที่ 3.6 )เพิ่มเติม)

จังหวะก้าวหน้า เกิดจากการกระจาย หรือการลดหลั่น (Gladiation) ของเส้น (ล่างอันที่ 1)





วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

รหัสมอร์สที่ 2

จากครั้งที่แล้วที่ว่าด้วยเรื่องของ รหัสมอร์สแล้วข้ามไปที่เรื่องการตัดทอนของตัว FONT แล้วคณะอาจารย์เห็นว่าไม่เหมาะสมเหมือนเป็นการข้ามกระบวนการเกิดไป จึงกลับมาสำรวจคำว่า รหัสมอร์ส อย่างจริงจัง แล้วก็ได้ออกมาคำนึงว่า
รหัสมอร์ส คือจังหวะ
ทำไมถึงคือจังหวะเพราะ ถ้าไม่มีจังหวะ ก็จะไม่เกิด รหัสมอร์ส หรือมีการสื่อสารที่ผิดไป จังหวะจึงเป็นตัวการหลักสำคัญของ รหัสมอร์ส พอได้แกนหลักว่า จังหวะ มาแล้วก็ยังตันอยู่สักพักนึง ก็นั่งดูเว็บที่แนะนำร้านอาหารและวิธีการทำอาหาร พี่แช้มป์ ก็ทักว่าเอ้ยกู้มึงชอบอาหารทำไมไม่ลองดึงอาหารมาทำดูหละ ผมก็งง “ มันจะได้เหรอพี่ “ พี่แช้มป์ก็บอกว่า “ มันก็ต้องลองดู “ ก็เลยนั่งคุยกันพักใหญ่ ก็ได้แกนหลักของอาหารมาว่า “ เพื่อความอยู่รอด “ พอได้คำนี้มาก็นั่งคิดกันอีกว่า เพื่อความอยู่รอดมีอะไรบ้าง ก็นั่งคิดไปมาว่ามันจะเกี่ยวอะไรกับ จังหวะไหม ก็คิดไปคิดว่าก็คิดว่า เออเนอะ ชีวิตเราเกือบทั้งหมดแทบต้องมีจังหวะทุกอย่าง ต้องมีการกะเกน พอมีการกะเกน ก็ทำให้เกิดจังหวะขึ้น ทั้งการขับรถต้องมีจังหวะในการขับการเลี้ยว การเดินต้องมีจังหวะ การทานข้าวต้องมีการตัก การเคี้ยว การนั่ง การยืน การพูด สิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันแทบจะเป็นจังหวะทั้งหมด หรือผมคงขอเรียกว่า จังหวะชีวิตหละมั้งครับ



ก็มาลงตรงที่ การหายใจ การเต้นของหัวใจและชีพจร ถ้าหยุดหายใจ ชีวิตก็คงดับลงถ้าหัวใจไม่เต้นก็คงดับลงอีกเช่นกัน ชีพจรไม่เต้นก็คงดับลงเหมือนกัน ทุกอย่าง 3 อย่างมีจังหวะของมัน จึงมาคล้องกับ รหัสมอร์สที่ มีจังหวะ ไม่งั้นคงไม่สามารถ สื่อสารได้ ที่สนใจใน ลายเส้น ของการเต้นของหัวใจหรือชีพจรนั่นเอง จังหวะการเต้น ที่ขึ้นลง ที่แสดงถึงอารมณ์ได้ ทั้งตกใจ ดีใจ ตื่นเต้น วิตก ฯลฯ จึงสนใจในตรงนี้ว่าเออมันน่าจะนำมาทำอะไรได้มากกว่านี้อีกนะ

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ประวัติของคนสร้างรหัสมอร์สและเป็นผู้คิดประดิษฐิเครื่องรับส่งโทรเลข

แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse)



โลกรู้จักกับ “โทรเลข” (Telegraph) และเทคนิคการทำงานของมันเป็นครั้งแรกในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) เมื่อ แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณไฟฟ้าทางไกลและคิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือ ได้ทดลองใช้สัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวส่งข่าวสารผ่านรหัสที่เขาคิดค้น จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปยังเมืองบัลติมอร์ได้เป็นผลสำเร็จ สำหรับมอร์ส วันนั้นถือเป็นวันที่เขาประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิต ทั้งความพยายามที่จะเยียวยาจิตใจก็ลุล่วง

สิบเอ็ดปีก่อนหน้านี้ มอร์สทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาล่าช้าไปถึง ๓ วัน จึงทำให้เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องคิดค้นวิธีการสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งกว่าจดหมายขึ้นมาให้ได้ หลังจากนั้นมอร์สก็ทุ่มเทเวลาไปกับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า พร้อมเก็บเงินทีละเล็กทีละน้อยซื้ออุปกรณ์สร้างเครื่องส่งโทรเลข และทำการทดลองจนประสบความสำเร็จในที่สุด

เทคนิคที่มอร์สคิดค้นขึ้นมาจากการกดสวิตช์ไฟอย่างง่าย สวิตช์ดังกล่าวประกอบด้วยสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับกด ซึ่งติดกับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็กๆ เมื่อกดปุ่มแล้ว กระแสไฟฟ้าก็จะเดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่ม กระแสไฟฟ้าก็จะตัด สวิตช์นี้จะทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าเป็นช่วงสั้นและช่วงยาว ก่อให้เกิดรหัสสัญญาณโทรเลข หรือที่เรียกกันว่า “รหัสมอร์ส” ซึ่งการทำงานของมันก็คือ กดปุ่มแล้วปล่อยทันที (กดสั้น) ได้ผลเป็นจุด (O) ถ้ากดปุ่มค้าง (กดยาว) ได้ผลเป็นขีด (-) โดยมอร์สได้คิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือไว้แล้วว่า การเรียงจุดและขีดแบบใด หมายถึงตัวอักษรหรือตัวเลขใด

หลักการส่งและรับโทรเลข
ในการส่งโทรเลขนี้นะครับ ก็จะมีหลักการดังนี้ครับ ก็คือว่า ทางเครื่องส่งนี้จะต้องทำการแปลงรหัสนะครับ คือจากตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจแล้วทำการแปลงรหัสไปเป็นรหัสสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นก็จะส่งไปตามสายสัญญาณพอไปถึงเครื่องรับแล้วนะครับ เครื่องรับก็จะทำการรับสัญญาณทางไฟฟ้านั้นมาทำการถอดรหัสทางไฟฟ้ามาเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจยังไงล่ะครับ


ข้อดีของโทรเลข คือ
สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก

ข้อเสียของโทรเลข คือ
ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป

เพิ่มเติมครับ
หลังจากที่ได้อ่านๆ ข้อมูลมาผมคิดว่า ในสมัยก่อนเนี่ยโทรเลขเหมือนถูกทำมาเพื่อเป็นการย่นเวลาในการสื่อสารให้มีความเร็วเพียงไม่กี่วินาที เพราะจดหมายใช้เวลาอย่างต่ำก็หนึ่งวันสองวันเป็นอย่างต่ำ

หัวข้อและรูปร่างของรหัสมอร์ส

สวัสดีครับหัวข้อที่ผมสนใจ ที่จะนำเสนอในอาทิตนี้ คือ รหัสมอร์ส ครับ แต่ก่อนอื่นจะอธิบายว่ามาถึงรหัสมอร์สได้ยังไง คือเริ่มต้นผมได้ทำงานหาข้อมูลของ JOHE MAEDA แล้วผมก็สนใจในเรื่อง กฎแห่งความเรียบง่าย 10 ข้อ แล้วก็วิเคราะห์เอาหัวข้อที่มันน่าจะเป็นพื้นฐานของความเรียบง่ายแล้วก็ได้หัวข้อคือ การลด หรือ ( Reduce ) นั่นเอง เนื่องจากที่เลือกข้อนี้เพราะ ผมคิดว่าความเรียบง่ายนั้นทุกอย่างเริ่มมาจากการลด ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ก็จะเกิดความเรียบและง่าย ผมจึงคิดว่า การลดคือพื้นฐานหรือสิ่งที่จำเป็นที่สุดของความเรียบง่าย MAEDA กล่าวว่า “ ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองหรือการเอาระบบการอื่นๆ ออกเหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ “ พอได้หัวข้อการลด ก็เริ่มคิดแยกอีกทีว่าการลด คิดถึงอะไรบ้าง พอเอิญผมคุย msm กับเพื่อนพอดีก็เลยลองถามว่า ถ้าพูดถึงความเรียบง่าย หรือ การลด เนี่ย คิดถึงอะไร เขาก็บอกว่า เลขาคณิต หรือ ( Geometric From ) แต่เนื่องด้วยผมอ่านเร็วไปหน่อยเลยอ่านผิด จากเลขาคณิต เป็น เลขคณิต ผมก็เอ้ มันน่าจะมีอะไรมากกว่านั้น เลขาคณิตก็น่าสนใจ เลขคณิตก็น่าสนใจ ในช่วงเวลาที่ผมคิดอยู่นั้น นิ้วชี้ของผมก็เคาะโต๊ะไปด้วย ตึก ตึก ตึก ตึก ตึก ตาผมก็มองนิ้วไปด้วย ผมก็นึกถึงการส่ง รหัสมอร์ส ในตอนแรกผมคิดว่า รหัสมอร์สคือการเคาะจังหวะ ตัวเลขและการเร่งจังหวะ แบบว่าเคาะสามครั้งเร็วๆ คือ ช่วยด้วย
( สมมุติ ) หรือว่า เคาะแล้วหยุด เคาะแล้วหยุด คือเตรียมตัว ( สมมุติ ) แบบคิดว่าเคาะตามเลขที่กำหนดแล้วกะจังหวะ คือรหัสมอร์ส แต่พอเข้าไปหาจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่คิด มันหลักแค่ว่า เคาะสั้น ตึกคือ ( . ) และ เคาะแล้วค้างไว้ ตึกกกก คือ ( _ ) เหมือนไฟฉายเหมือนกัน ไฟแว๊บเดียว คือ ( . ) แล้วไฟค้างไว้คือ ( _ ) เขาใช้สัญลักษณ์แค่
( . ) กับ ( _ ) มาเป็นตัวแปลอีกที ลองมาดูกันนะครับ

นี่เป็น รหัสมอร์สแบบ FONT ภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้เป็นสากล



แล้วนี่เป็น รหัสมอร์สแบบ ตัวเลข



จากข้างต้นที่เห็นคือเอาตัวอย่างมาลงให้ดู ในรูปทั้งสองรูป ด้านซ้ายคือภาษาที่เราเข้าใจกัน ตรงกลางคือ คำที่ใช้เรียกหรือการออกเสียง ด้านซ้ายสุดคือ สัญลักษณ์หรือตัวแทนของ ภาษาที่เราเข้าใจกัน