วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550

จังหวะ

ในทางทัศนศิลป์ จังหวะเกิดจาก การเว้นระยะ ความห่าง หรือการซ้ำที่เป็นระเบียบ เป็นจังหวะจะโคน จากระเบียบธรรมดา ที่มีช่วงถี่ ห่าง เท่า ๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูง และซับซ้อนขึ้น ของทัศนธาตุ หรือส่วนประกอบมูลฐานของทัศนศิลป์ (Elements of Visual Art) เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว (Movement) ทางสายตา คือทางเดินของ ภาพที่มีพลังชักนำหรือขัดแย้งให้สายตาติดตาม

จังหวะ ที่ปรากฎในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
จังหวะของงานทัศนศิลป์ เป็นการซ้ำหรือการไหลต่อเนื่องกัน ของ ส่วนประกอบมูลฐานของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรงพื้นผิวในที่ว่าง มีความถี่ ความห่าง เกิดเคลื่อนไหวในทางสายตา จำแนกออกได้ 3 ประเภทตามลักษณะการเกิดของจังหวะ คือ.

1. จังหวะเกิดจากซ้ำกัน (Repetition Rhythm)
หมายถึงการจัดช่วงจังหวะให้มีลักษณะ ซ้ำกันของ ส่วนประกอบขั้นมูลฐาน เช่น เส้น สี น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง ฯลฯ ซึ่งมีหน่วยตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป โดยมีบริเวณว่าง คั่นอยู่ ระหว่างรูปร่าง หรือรูปทรงเหล่านั้น










(ซ้าย) วัตถุที่เป็นหน่วยเดียว ยังไม่มีการเกิดของจังหวะ จนกว่าจะมีการซ้ำเกิดขึ้น (ขวา)




จังหวะ ที่เกิดจาก การซ้ำในบางลักษณะ ทำให้เกิดภาพลวงตาได้


2. จังหวะเกิดจากการต่อเนื่อง (Continuous Rhythm)
หมายถึงการเคลื่อนไหวที่มีจังหวะ ซึ่งอาจจะ เป็นเส้น สี รูปร่าง รูปทรง แสงเงา ฯลฯ ที่ต่อเนื่อง โดยไม่มีบริเวณว่างมาคั่น การกำหนดจังหวะ อยู่ที่ลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุเอง เช่น เดียวกับคลื่นในทะเล ที่เลื่อนไหลไปอย่าง สม่ำเสมอ ให้จังหวะต่อเนื่องกันของเส้น สี น้ำหนัก หรือ จังหวะของดนตรีที่มีการต่อเนื่องกันด้วยเสียงสูง เสียงต่ำ บรรเลง ได้อย่างต่อเนื่อง เป็นจังหวะไม่ขาดระยะ




จังหวะที่ต่อเนื่อง เปรียบเหมือนกับการกระเพื่อมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งบนพื้นผิวที่ตึง เรียบ


3. จังหวะเกิดจากการต่อเนื่องก้าวหน้า (Progressive Rhythm)
หมายถึงการจัดจังหวะให้เพิ่มขึ้นเป็น ลำดับอาจเ กิดขึ้น จากเส้น ขนาด น้ำหนัก รูปร่าง รูปทรง เส้น สี พื้นผิว ฯลฯ เป็น การสร้างสรรค์ระยะของจังหวะ ให้เปลี่ยนแปลง ไปทีละน้อย
(ศึกษาเรื่องการแปรเปลี่ยน (Gradation)ในบทที่ 3.6 )เพิ่มเติม)

จังหวะก้าวหน้า เกิดจากการกระจาย หรือการลดหลั่น (Gladiation) ของเส้น (ล่างอันที่ 1)





ไม่มีความคิดเห็น: