วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

หัวข้อและรูปร่างของรหัสมอร์ส

สวัสดีครับหัวข้อที่ผมสนใจ ที่จะนำเสนอในอาทิตนี้ คือ รหัสมอร์ส ครับ แต่ก่อนอื่นจะอธิบายว่ามาถึงรหัสมอร์สได้ยังไง คือเริ่มต้นผมได้ทำงานหาข้อมูลของ JOHE MAEDA แล้วผมก็สนใจในเรื่อง กฎแห่งความเรียบง่าย 10 ข้อ แล้วก็วิเคราะห์เอาหัวข้อที่มันน่าจะเป็นพื้นฐานของความเรียบง่ายแล้วก็ได้หัวข้อคือ การลด หรือ ( Reduce ) นั่นเอง เนื่องจากที่เลือกข้อนี้เพราะ ผมคิดว่าความเรียบง่ายนั้นทุกอย่างเริ่มมาจากการลด ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ก็จะเกิดความเรียบและง่าย ผมจึงคิดว่า การลดคือพื้นฐานหรือสิ่งที่จำเป็นที่สุดของความเรียบง่าย MAEDA กล่าวว่า “ ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองหรือการเอาระบบการอื่นๆ ออกเหลือแต่สิ่งที่จำเป็นจริงๆ “ พอได้หัวข้อการลด ก็เริ่มคิดแยกอีกทีว่าการลด คิดถึงอะไรบ้าง พอเอิญผมคุย msm กับเพื่อนพอดีก็เลยลองถามว่า ถ้าพูดถึงความเรียบง่าย หรือ การลด เนี่ย คิดถึงอะไร เขาก็บอกว่า เลขาคณิต หรือ ( Geometric From ) แต่เนื่องด้วยผมอ่านเร็วไปหน่อยเลยอ่านผิด จากเลขาคณิต เป็น เลขคณิต ผมก็เอ้ มันน่าจะมีอะไรมากกว่านั้น เลขาคณิตก็น่าสนใจ เลขคณิตก็น่าสนใจ ในช่วงเวลาที่ผมคิดอยู่นั้น นิ้วชี้ของผมก็เคาะโต๊ะไปด้วย ตึก ตึก ตึก ตึก ตึก ตาผมก็มองนิ้วไปด้วย ผมก็นึกถึงการส่ง รหัสมอร์ส ในตอนแรกผมคิดว่า รหัสมอร์สคือการเคาะจังหวะ ตัวเลขและการเร่งจังหวะ แบบว่าเคาะสามครั้งเร็วๆ คือ ช่วยด้วย
( สมมุติ ) หรือว่า เคาะแล้วหยุด เคาะแล้วหยุด คือเตรียมตัว ( สมมุติ ) แบบคิดว่าเคาะตามเลขที่กำหนดแล้วกะจังหวะ คือรหัสมอร์ส แต่พอเข้าไปหาจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่คิด มันหลักแค่ว่า เคาะสั้น ตึกคือ ( . ) และ เคาะแล้วค้างไว้ ตึกกกก คือ ( _ ) เหมือนไฟฉายเหมือนกัน ไฟแว๊บเดียว คือ ( . ) แล้วไฟค้างไว้คือ ( _ ) เขาใช้สัญลักษณ์แค่
( . ) กับ ( _ ) มาเป็นตัวแปลอีกที ลองมาดูกันนะครับ

นี่เป็น รหัสมอร์สแบบ FONT ภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้เป็นสากล



แล้วนี่เป็น รหัสมอร์สแบบ ตัวเลข



จากข้างต้นที่เห็นคือเอาตัวอย่างมาลงให้ดู ในรูปทั้งสองรูป ด้านซ้ายคือภาษาที่เราเข้าใจกัน ตรงกลางคือ คำที่ใช้เรียกหรือการออกเสียง ด้านซ้ายสุดคือ สัญลักษณ์หรือตัวแทนของ ภาษาที่เราเข้าใจกัน

ไม่มีความคิดเห็น: