วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

รหัสมอร์สที่ 2

จากครั้งที่แล้วที่ว่าด้วยเรื่องของ รหัสมอร์สแล้วข้ามไปที่เรื่องการตัดทอนของตัว FONT แล้วคณะอาจารย์เห็นว่าไม่เหมาะสมเหมือนเป็นการข้ามกระบวนการเกิดไป จึงกลับมาสำรวจคำว่า รหัสมอร์ส อย่างจริงจัง แล้วก็ได้ออกมาคำนึงว่า
รหัสมอร์ส คือจังหวะ
ทำไมถึงคือจังหวะเพราะ ถ้าไม่มีจังหวะ ก็จะไม่เกิด รหัสมอร์ส หรือมีการสื่อสารที่ผิดไป จังหวะจึงเป็นตัวการหลักสำคัญของ รหัสมอร์ส พอได้แกนหลักว่า จังหวะ มาแล้วก็ยังตันอยู่สักพักนึง ก็นั่งดูเว็บที่แนะนำร้านอาหารและวิธีการทำอาหาร พี่แช้มป์ ก็ทักว่าเอ้ยกู้มึงชอบอาหารทำไมไม่ลองดึงอาหารมาทำดูหละ ผมก็งง “ มันจะได้เหรอพี่ “ พี่แช้มป์ก็บอกว่า “ มันก็ต้องลองดู “ ก็เลยนั่งคุยกันพักใหญ่ ก็ได้แกนหลักของอาหารมาว่า “ เพื่อความอยู่รอด “ พอได้คำนี้มาก็นั่งคิดกันอีกว่า เพื่อความอยู่รอดมีอะไรบ้าง ก็นั่งคิดไปมาว่ามันจะเกี่ยวอะไรกับ จังหวะไหม ก็คิดไปคิดว่าก็คิดว่า เออเนอะ ชีวิตเราเกือบทั้งหมดแทบต้องมีจังหวะทุกอย่าง ต้องมีการกะเกน พอมีการกะเกน ก็ทำให้เกิดจังหวะขึ้น ทั้งการขับรถต้องมีจังหวะในการขับการเลี้ยว การเดินต้องมีจังหวะ การทานข้าวต้องมีการตัก การเคี้ยว การนั่ง การยืน การพูด สิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวันแทบจะเป็นจังหวะทั้งหมด หรือผมคงขอเรียกว่า จังหวะชีวิตหละมั้งครับ



ก็มาลงตรงที่ การหายใจ การเต้นของหัวใจและชีพจร ถ้าหยุดหายใจ ชีวิตก็คงดับลงถ้าหัวใจไม่เต้นก็คงดับลงอีกเช่นกัน ชีพจรไม่เต้นก็คงดับลงเหมือนกัน ทุกอย่าง 3 อย่างมีจังหวะของมัน จึงมาคล้องกับ รหัสมอร์สที่ มีจังหวะ ไม่งั้นคงไม่สามารถ สื่อสารได้ ที่สนใจใน ลายเส้น ของการเต้นของหัวใจหรือชีพจรนั่นเอง จังหวะการเต้น ที่ขึ้นลง ที่แสดงถึงอารมณ์ได้ ทั้งตกใจ ดีใจ ตื่นเต้น วิตก ฯลฯ จึงสนใจในตรงนี้ว่าเออมันน่าจะนำมาทำอะไรได้มากกว่านี้อีกนะ

ไม่มีความคิดเห็น: