
โลกรู้จักกับ “โทรเลข” (Telegraph) และเทคนิคการทำงานของมันเป็นครั้งแรกในวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๓๘๗) เมื่อ แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ชาวอเมริกัน ผู้ประดิษฐ์เครื่องส่งสัญญาณไฟฟ้าทางไกลและคิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือ ได้ทดลองใช้สัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวส่งข่าวสารผ่านรหัสที่เขาคิดค้น จากกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไปยังเมืองบัลติมอร์ได้เป็นผลสำเร็จ สำหรับมอร์ส วันนั้นถือเป็นวันที่เขาประสบความสำเร็จที่สุดในชีวิต ทั้งความพยายามที่จะเยียวยาจิตใจก็ลุล่วง
สิบเอ็ดปีก่อนหน้านี้ มอร์สทราบข่าวการเสียชีวิตของภรรยาล่าช้าไปถึง ๓ วัน จึงทำให้เขาตั้งใจแน่วแน่ว่าจะต้องคิดค้นวิธีการสื่อสารที่รวดเร็วยิ่งกว่าจดหมายขึ้นมาให้ได้ หลังจากนั้นมอร์สก็ทุ่มเทเวลาไปกับการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้า พร้อมเก็บเงินทีละเล็กทีละน้อยซื้ออุปกรณ์สร้างเครื่องส่งโทรเลข และทำการทดลองจนประสบความสำเร็จในที่สุด
เทคนิคที่มอร์สคิดค้นขึ้นมาจากการกดสวิตช์ไฟอย่างง่าย สวิตช์ดังกล่าวประกอบด้วยสปริงทองเหลือง ส่วนปลายมีปุ่มสำหรับกด ซึ่งติดกับสปริงและแม่เหล็กไฟฟ้าอันเล็กๆ เมื่อกดปุ่มแล้ว กระแสไฟฟ้าก็จะเดิน ถ้ายกมือออกจากปุ่ม กระแสไฟฟ้าก็จะตัด สวิตช์นี้จะทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าเป็นช่วงสั้นและช่วงยาว ก่อให้เกิดรหัสสัญญาณโทรเลข หรือที่เรียกกันว่า “รหัสมอร์ส” ซึ่งการทำงานของมันก็คือ กดปุ่มแล้วปล่อยทันที (กดสั้น) ได้ผลเป็นจุด (O) ถ้ากดปุ่มค้าง (กดยาว) ได้ผลเป็นขีด (-) โดยมอร์สได้คิดค้นรหัสแทนตัวหนังสือไว้แล้วว่า การเรียงจุดและขีดแบบใด หมายถึงตัวอักษรหรือตัวเลขใด
หลักการส่งและรับโทรเลข
ในการส่งโทรเลขนี้นะครับ ก็จะมีหลักการดังนี้ครับ ก็คือว่า ทางเครื่องส่งนี้จะต้องทำการแปลงรหัสนะครับ คือจากตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจแล้วทำการแปลงรหัสไปเป็นรหัสสัญญาณทางไฟฟ้า จากนั้นก็จะส่งไปตามสายสัญญาณพอไปถึงเครื่องรับแล้วนะครับ เครื่องรับก็จะทำการรับสัญญาณทางไฟฟ้านั้นมาทำการถอดรหัสทางไฟฟ้ามาเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ที่เราเข้าใจยังไงล่ะครับ
ข้อดีของโทรเลข คือ
สามารถส่งข่าวสารและข้อมูลไปได้ในระยะทางไกลๆ
ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถใช้ปริการโทรเลขได้ในราคาถูก
ข้อเสียของโทรเลข คือ
ต้องแปลรหัสโทรเลขทั้งขณะส่งและขณะรับ ทำให้เสียเวลา
หากแปลรหัสผิดอาจทำให้ข่าวสารและข้อมูลนั้นๆมีใจความเปลี่ยนไป
เพิ่มเติมครับ
หลังจากที่ได้อ่านๆ ข้อมูลมาผมคิดว่า ในสมัยก่อนเนี่ยโทรเลขเหมือนถูกทำมาเพื่อเป็นการย่นเวลาในการสื่อสารให้มีความเร็วเพียงไม่กี่วินาที เพราะจดหมายใช้เวลาอย่างต่ำก็หนึ่งวันสองวันเป็นอย่างต่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น