วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

กฎแห่งความเรียบง่าย10ข้อ

1.การลด reduce
ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองไว้หรือการเอาระบบการอื่นๆออก ยกตัวอย่างคือ แผ่นดีวีดีทุกวันนี้มีระบบการณ์ให้เลือกมากเกินความจำเป็นถ้าสิ่งที่คุณต้องการคือแค่ดูหนังเรื่องนั้น ทางแก้ก็คือการเหลือแค่ปุ่ม “เล่น” ไว้เอาปุ่มอย่างอื่นออกคุณทำให้มันง่ายขึ้นอย่างไร สิ่งนั้นต้องซับซ้อนแค่ไหน

2.จัดระบบ organize
การจัดระบบเป็นการทำให้สิ่งต่างที่มีอยู่มากมายน้อยลง ปกตินั้นบ้านเป็นสมรภูมิแรกเมื่อเผชิญกับปัญหาการจัดการความซับซ้อนยุ่งยาก สิ่งเล็กๆมักจะเพิ่มเป็นทวีคูณ มีกลยุทธ์3ข้อในการจัดการปัญหาในชีวิตประจำวันนี้
1.ซื้อบ้านใหญ่ขึ้น
2.นำสิ่งของที่คุณไม่ต้องการใส่ไว้ในห้องเก็บของ
3.จัดระบบสิ่งของต่างๆที่ตั้งอยู่
การปกปิดความใหญ่โตของกองระเกะระกะมี2ทางคือซ่อนมันไว้หรือวางกระจายไปเลยทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ทำตามกฎข้อที่1การลดด้วยหรือเปล่า อย่างไรก็ตามในแผนการจัดระบบในระยะยาวที่ได้ผลเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก คำถามที่ท้าทายที่ตามมาคือ สิ่งไหนควรอยู่ด้วยกัน เช่นในตู้เสื้อผ้าควรจะมีสิ่งไหนบ้าง ในตู้เสื้อผ้าที่มีของเป็นพันๆอย่างอาจจะจัดกลุ่มได้เพียง6อย่างเท่านั้น แน่นอนแผนจัดกลุ่มนี้ใช้ได้ก็ต่อเมื่อจำนวนของกลุ่มน้อยกว่าจำนวนของสิ่งของ

3.เวลา Time
คนทั่วไปใช้เวลาอย่างน้อย1ชั่วโมงต่อวันในการต่อแถวรอ ลองนึกถึงเวลา1ชั่วโมงนี้มาเป็นวินาที นาที สัปดาห์ที่เราต้องใช้เวลาต่อแถวเพื่อสิ่งที่ไม่อาจจำเป็นต้องต่อแถวเลยสิ
บางสิ่งอาจเป็นสิ่งที่เข้าใจยาก เรารอน้ำออกมาจากก๊อก รอน้ำต้มให้เดือดและรู้สึกทนไม่ได้ รอฤดูเปลี่ยน รอเว็บเพจโหลดข้อมูล ติดในการจราจรแบบคันต่อคัน หรือรอผลตรวจสอบร่างกายที่สำคัญ ไม่มีใครชอบการรอดังนั้นผู้บริโภคและเหล่าผู้ประกอบการพยายามที่จะหาทางใหม่ๆเพื่อลดการรอเวลา เมื่อผู้ประกอบการสินค้าหรือบริการไหนตอบสนองเร็ว เราถือว่าสิ่งนั้นเป็นแนวทางในการสร้างความเรียบง่าย ยกตัวอย่างเช่น FedEx หรือการสั่ง McDonald’s การลดเวลาถือว่าเป็นสิ่งเรียบง่ายและเราชอบแบบนั้นแต่ว่ามันก็เกิดขึ้นยาก

4.การเรียนรู้ Learn
ความรู้ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น การหมุนไขควงอาจเป็นสิ่งที่ง่ายมาก แต่ถ้าคุณเป็นเด็กคุณไม่ได้เรียนรู้มาก่อนก็ทำให้กลายเป็นเรื่องยากมาก ลูกของผมก็เรียนรู้วิธีการจากการสอนโดยยึดจากการหมุนของนาฬิกา ทั้ง2อย่างต้องใช้ความรู้เช่นกันนั่นก็คือ รู้จักซ้ายขวา รู้จักทิศทางการหมุนของนาฬิกา
ดังนั้นไขควงมีรูปแบบที่ง่ายมากแค่หมุนไปในทิศทางที่ถูกต้อง ความรู้ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ แต่ปัญหาก็คือคุณรู้สึกว่า คุณกำลังเสียเวลาเรียนรู้สิ่งๆนั้นอยู่ นั่นคุณกำลังละเลยกฎข้อที่3 อยู่นะ

5.ความแตกต่าง Differences
ความเรียบง่ายและความซับซ้อนเป็นของคู่กัน ไม่มีใครต้องการกินแต่ของหวาน แม้แต่เด็กที่ได้รับอนุญาตให้กินของหวานได้ทั้ง3มื้อก็คงเบื่อไปเองและความหมายเดียวกัน ไม่มีใครต้องการแต่ความเรียบง่าย ถ้าไม่ดูจากความยุ่งยากเราก็คงไม่เห็นความเรียบง่าย เราจะรู้สึกก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ที่แตกต่าง
การรับรู้ความแตกต่างช่วยให้เราบอกคุณภาพที่เราต้องการซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนสิ่งนั้นออก ผมไม่ชอบสีชมพูเป็นการส่วนตัวแต่ถ้านำไปรวมกับสีดำเป็นพื้นรอบๆก็ทำให้ดูดีขึ้นมาได้ เราเรียนรู้ที่จะวิจักษ์สิ่งต่างๆถ้าเราลองเปรียบสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นๆ ความเรียบง่ายและความซับซ้อนเป็นของคู่กัน ยิ่งเราเห็นว่าที่การตลาดมีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ ความเรียบง่ายก็จะเด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น และเนื่องด้วยเทคโนโลยียังคงดำเนินไปในทางความซับซ้อน ทำให้มีกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจเรียบง่ายขึ้นด้านการจัดการสินค้า นั่นก็คือ ความรู้สึกเรียบง่ายในด้านการออกแบบยังต้องการความซับซ้อนเสมอๆแม้จะเป็นรูปแบบอื่นๆ

6.สิ่งแวดล้อม Context
สิ่งที่อยู่รอบนอกของความเรียบง่ายมีความสำคัญเท่ากันกับสิ่งที่อยู่ภายใน





7.อารมณ์ Emotion
อารมณ์หลากหลายย่อมดีกว่าไม่มีเลย






8.ความเชื่อใจ Trust
เราเชื่อใจในความเรียบง่าย







9.ความล้มเหลว Failure







10.ความเป็นหนึ่ง The one
ความเรียบง่ายคือการลดสิ่งที่เห็นได้ชัดออกและเพิ่มความหมายลงไป